วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ความประทับใจในชีวิต

        ความประทับใจในชีวิตของผม ผู้อ่านคงรู้สึกเหมือนผม คุณเคยรู้สึกดีและสบายใจทุกครั้งที่ได้กลับบ้านไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหนในประเทศหากเมื่อได้กลับบ้าน คุณจะรู้สึกได้ผ่อนคลายจริงๆ นั้นคือบ้านเกิดของคุณเอง ใช่ครับความทับใจของผมคือการได้กลับบ้านที่ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา



อำเภอเบตง จังหวัดยะลา



เมืองในหมอก  ดอกไม้งาม 
ใต้สุดสยาม  เมืองงามชายแดน  (คำขวัญ อ.เบตง)

ชื่อเดิมของอำเภอเบตงคือ ยะรม เป็นภาษามลายูมีความหมายว่า "เข็มเย็บผ้า" ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช 2473 อำเภอยะรมได้ถูกเปลี่ยนชื่อมาเป็นอำเภอเบตงในปัจจุบัน ซึ่งคำว่า เบตง มาจากภาษามลายู ว่า "Buluh Betong" หมายถึง "ไม้ไผ่ขนาดใหญ่" คือ ไผ่ตง ซึ่งมีอยู่มากในท้องถิ่น ต้นไผ่ตงจึงกลายเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของอำเภอเบตง





วัฒนธรรม


           อำเภอเบตงมีสามเชื้อชาติและศาสนาหลักๆ คือ คนไทยเชื้อสายจีน คนไทยมุสลิม และคนไทยพุทธ ซึ่งอยู่ร่วมกันอย่างอบอุ่น อย่างบ้านที่ผมอยู่นั้นเป็นบ้านแถว ข้างบ้านด้านขวาของผมนั้นเป็นคนจีนส่วนข้างบ้านด้านซ้ายของผมเป็นมุสลิม พอถึงวันวันฮารีรายอหรือวันปีใหม่ของชาวมุสลิม ซึ่งวันนั้นข้างบ้านผมเขาจะเอาของกินมาให้เป็นขนมจีนและคาวหวาน ส่วนวันตรุษจีน ข้างบ้านด้านซ้ายผมเขาก็จมีแจกอั่งเปานับว่าสุขสันเลยดีเดียว ^^

วัฒนธรรมประเพณีของผู้นับถือศาสนาพุทธ ได้แก่ ประเพณีแห่ผ้าห่มพระธาตุเจดีย์ พระพุทธธรรมประกาศ ประเพณีชักพระ ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ลอยกระทง สงกรานต์ 

วัฒนธรรมประเพณีของผู้นับถือศาสนาอิสลาม ได้แก่ การจัดการงานวันฮารีรายอ งานเมาลิด งานวันละศีลอด วันกวนอาซูรอ การแสดงปัญจักสีลัต ดีเกฮูลู และอะนาเซด

วัฒนธรรมประเพณีของคนไทยเชื้อสายจีน ได้แก่ วันตรุษจีน วันไหว้บรรพบุรุษ วันสารทจีน วันไหว้บ๊ะจ่าง วันไหว้พระจันทร์ ประเพณีกินเจ ประเพณีแห่พระรอบเมืองของวัดกวนอิม และมูลนิธิอำเภอเบตง



สภาพภูมิศาสตร์


            

           อยุ่ที่ตั้งและอาณาเขตอยู่ใต้สุดสยามติดชายแดน มาเลเซีย อำเภอเบตงตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองยะลาประมาณ 140 กิโลเมตร สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนชื้นตลอดปี โดยเฉลี่ย ประมาณ 27.5 – 28.5 องศาเซลเซียส มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน โดยฤดูร้อนอยู่ในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ส่วนฤดูฝนอยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนธันวาคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,281.6 มิลลิเมตร ต่อปี มีฝนตกเฉลี่ย 135 วันต่อปี เดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน มีฝนตกชุกที่สุด มีป่าไม้ล้อมรอบ

เศรษฐกิจ


        ส่วนใหญ่ชาวเบตงจะประกอบการเกษตร ทำสวนยางพารานั้นเองซึ่งเป็นรายได้หลักที่ทำเงินไม่น้อยแต่ประสบภัยธรรมชาติบ่อยเช่น มรสุมฝนตกบ่อยทำให้ตัดยางไม่ได้ ส่วนการเกษตรพวกผักและผลไม้  แล้วก็การท่องเที่ยว



แหล่งท่องเที่ยว

        



สถานที่ท่องเที่ยวหลักๆคือสวนดอกไม้กับบ่อน้ำร้อนแล้วก็อุโมงปิยะมิตร


อุโมงปิยะมิตร
ตั้งอยู่หมู่ 2 บ้านปิยะมิตร 1 ตำบลตะเนาะแมเราะ เป็นอุโมงค์ดินซึ่งอดีตขบวนการโจรคอมมิวนิสต์มาลายา (จคม.) สร้างขึ้น บนเนินเขาในป่าทึบ สำหรับเป็นฐานปฏิบัติการต่อสู้ทางการเมือง ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง อุโมงค์มีลักษณะคดเคี้ยวเข้าไปในภูเขายาวประมาณ 1 กิโลเมตร ลึก 50-60 ฟุต และมีทางออก 6 ทาง ใช้เวลาขุด 3 เดือน เพื่อเป็นที่หลบภัยทางอากาศ และสะสมเสบียง

สวนดอกไม้หนาว
อยู่ในบริเวณหมู่บ้านปิยะมิตร 2 ซึ่งห่างจากหมู่บ้านปิยะมิตร 1 ประมาณ 9 กิเมตร เป็นโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีพื้นที่ตั้งอยู่บนเขา มีอากาศเย็นสบาย มีแปลงทดลองปลูกไม้ดอกหลายประเภท เช่น ดอกฮอลีฮ้อค ดอกแอสเตอร์ ซึ่งมีสีสันสวยงาม ปัจจุบันทางโครงการมีบ้านพักไว้ให้บริการสำหรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย

บ่อน้ำร้อน
เป็นบ่อน้ำร้อนที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ความร้อนของน้ำสามารถต้มไข่ให้สุกได้ภายในเวลา 7 นาที ประชาชนทั่วไป และนักท่องเที่ยวนิยมเดินทางมาอาบน้ำแร่ เพราะเชื่อกันว่าทำให้สุขภาพดี และรักษาโรคบางอย่างได้ ปัจจุบันองค์การบริหารส่วนจังหวัดยะลาได้สร้างรีสอร์ทไว้ให้บริการแก่นักท่องเที่ยวอีกด้วย
พระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธรรมประกาศ
วัดพุทธาธิวาสตั้งอยู่ใจกลางเมืองเบตง มีบรรยากาศร่มรื่นทัศนียภาพงดงามประกอบด้วยสถาปัตยกรรมที่มีความโดดเด่นเป็นสง่า ประกอบไปด้วยพระมหาธาตุเจดีย์พระพุทธธรรมประกาศ โดยองค์เจดีย์ตั้งอยู่บนเนินเขาภายในพระมหาธาตุเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ และพระพุทธธรรมกายมงคลประยูรเกศานนท์สุพิธาน เป็นองค์พระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์องค์ใหญ่ มีหน้าตักกว้าง 9.99 ม. สูง 14.29 ม. และมีน้ำหนักประมาณ 40 ตัน ซึ่งชาวอำเภอเบตงได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างขึ้นเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ

หอนาฬิกากลางเมืองเบตง
หอนาฬิกาเป็นสิ่งก่อสร้างอันเก่าแก่ที่อยู่เคียงคู่กับเมืองเบตงมายาวนาน เปรียบเป็นสัญลักษณ์ที่ตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของเมือง ทำการก่อสร้างด้วยหินอ่อน ในยามเย็นจะเห็นฝูงนกนางแอ่นนับหมื่นตัวมาเกาะอยู่รอบ ๆ สายไฟบริเวณหอนาฬิกาจนกลายมาเป็นสัญลักษณ์คู่หอนาฬิกา





อาหาร และสินค้าพื้นเมือง

        อาหารที่ขึ้นชื่อของ อำเภอเบตง มีเคาหยก ปลาจีนนึ่งบ๊วย ไก่สับเบตง ผัดผักน้ำ กบภูเขา ส้มโชกุน

กบภูเขาทอด
กบภูเขาเบตง เป็นกบที่อาศัยอยู่ตามธรรมชาติ ในป่าเบญจพรรณที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง มีขนาดใหญ่กว่ากบทั่วไป ขนาดของน้ำหนักอยู่ที่ 0.5-1.0 กิโลกรัมต่อตัว ชาวเบตงนิยมนำกบเบตงมาผัด หรือทอดกระเทียมพริกไทย หรืออาจจะใช้เนื้อกบแทนเนื้อหมูใส่ในโจ๊ก หรือที่เรียกว่าโจ๊กกบ ส่วนรสชาตินั้น บอกได้คำเดียวว่า ถ้าท่านได้ลิ้มลองจะต้องติดใจ

ปลาจีนนึ่งบ๊วย
ปลาจีน นำมาปรุงอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงส้มปลาจีน ปลาจีนทอดกรอบ ปลาจีนนึ่งบ๊วย ฯลฯ ผู้ที่ได้รับประทานปลาจีนจะติดใจในรสหวาน และความนุ่มอร่อยของเนื้อปลาจีน โดยเฉพาะปลาจีนนึ่งเป็นอาหารชั้นหนึ่งจองภัตตาคารใหญ่ ๆ ในอำเภอเบตง ปลาจีนเป็นชื่อที่ใช้เรียกปลา 3 ชนิด คือชนิดแรก ปลาเฉาฮื้อ หรือปลากินหญ้าเป็นปลามาจากประเทศจีน ซึ่งส่งมาขายในมาเลเซีย ภายหลังชาวเบตงได้ซื้อลูกปลาจากแหล่งขายพันธุ์ปลาบริเวณชายแดน และนำมาเลี้ยงจนแพร่หลายในที่สุด

ผัดผักน้ำ

ผัดผักน้ำ มีลักษณะคล้ายผักชีล้อม มีการเจริญเติบโตคล้ายผักบุ้ง ใบเล็ก ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ ชอบขึ้นในที่ที่มีอากาศเย็น มีการเจริญเติบโตได้ดีในหน้าฝน และหน้าหนาว หรือที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 25 องศาเซลเซียส มีน้ำไหลผ่านตลอดเวลา และต้องเป็นน้ำที่ไหลมาจากภูเขา โดยเฉพาะน้ำที่ไหลมาจากซอกหิน ชาวเบตงนิยมนำมาประกอบอาหารหลายอย่าง เช่น ผัดผักน้ำ ทำแกงจืด ต้มจิ้มกับน้ำพริก ต้มกับกระดูกหมู เป็นต้น นอกจากรสชาติที่อร่อยแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนในอีกด้วย


เคาหยก
เคาหยก เป็นอาหารที่มีชื่อเสียงของเบตง ทำจากเนื้อหมูกับเผือก มีวิธีการปรุงที่พิถีพิถันสลับซับซ้อน โดยจะเริ่มจากการนำเนื้อหมู 3 ชั้นมาต้มให้สุก จากนั้นจึงนำขึ้นมาสะเด็ดน้ำในรังนึ่ง และใช้ช้อนส้อมจิ้มที่หนังหมูเพื่อให้น้ำมันไหลออกมา ทิ้งไว้สักพัก แล้วนำเกลือมาคลุกให้ทั่ว หลังจากนั้นนำไปทอดในน้ำมันที่เดือดปานกลาง จนสังเกตว่าหนังหมูเริ่มพอง แล้วจึงนำขึ้นมาสะเด็ดน้ำมัน และต่อด้วยการต้มอีกครั้ง เมื่อนำขึ้นจากหม้อต้มให้นำมาผ่านความเย็นทันที เพื่อเพิ่มความกรอบ จากนั้นนำมาหันเป็นชิ้นเล็ก ๆ หมักกับเครื่องยาจีน เพื่อเพิ่มคุณค่าทางอาหารให้ร่างกาย แล้วนำมาจัดวางสลับกับเผือกทอด แต่ก่อนที่จะรับประทานต้องนำไปนึ่งอีกครั้ง แล้วจีงโรยหน้าด้วยผักชี เพื่อดับกลิ่นคาว

ไก่สับเบตง
ไก่สับเบตง เป็นอาหารที่เลิศรสและขึ้นชื่อของเบตง เป็นเมนูเด็ดที่นักท่องเที่ยวไม่ควรพลาด และนอกจากไก่สับแล้ว ไก่เบตงยังสามารถปรุงเป็นอาหารรสเลิศได้อีกหลายชนิด เช่น ไก่ตุ๋นเครื่องยาจีน ไก่ตุ๋นมะนาวดอง ต้มยำไก่ ไก่ต้มซีอิ๊ว โดยไก่เบตงเป็นไก่ที่เลี้ยงเฉพาะท้องถิ่นเบตง เนื้อจะหวานนุ่ม ไม่เปื่อยยุ่ยเหมือนไก่ทั่วไป เดิมเป็นไก่พันธุ์เลียงชาน ที่ชาวจีนอพยพซึ่งมาตั้งรกรากในเบตงได้นำมาเลี้ยง และผสมพันธุ์กับไก่พื้นเมือง จนแพร่หลายถึงทุกวันนี้ ลักษณะเด่นของไก่เบตง คือตัวผู้มีปากสีเหลืองอ่อน ส่วนตัวเมียปากสีน้ำตาลเข้ม ตานูน แจ่มใส หงอนจักร หัวกว้าง คอตั้ง แข็งแรง มีขนสีเหลืองทองที่หัว ปีกสั้น อกกว้าง ขาใหญ่ หน้าแข้งกลม และมีเล็บสีเทาอมเหลือง และด้วยการเป็นไก่ซึ่งเปรียบเป็นเอกลักษณ์ของเมืองเบตง 
ส้มโชกุน
ส้มโชกุน จัดได้ว่าเป็นส้มที่รวบรวมเอาคุณสมบัติเด่นหลากหลายมารวมไว้ด้วยกัน เช่น มีกลิ่นหอม รสหวานอมเปรี้ยว ชานนิ่มและไม่ขม เปลือกบาง ซึ่งหากนำมาคั้นจะให้น้ำมากกว่าส้มทั่วไป มีลักษณะคล้ายส้มเขียวหวาน การเจริญเติบโตก็คล้าย ๆ กับส้มเขียวหวาน เหตุเพราะว่าเป็นส้มที่ผสมผสานพันธุ์โดยธรรมชาติ ระหว่างส้มเขียวหวาน และส้มแมนดารินจากประเทศจีน และกว่าจะมาเป็นผลส้มที่พรั่งพร้อมด้วยคุณลักษณะดังกล่าว ต้องผ่านการดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการหมั่นใส่ปุ๋ย ตัดแต่งกิ่ง การป้องกันโรค และการป้องกันแมลงต่าง ๆ ด้วย และถึงแม้ขณะนี้ส้มเบตงจะมีการเพาะปลูกในทุกภาคของประเทศไทย แต่หากท่านต้องการลิ้มลองรสชาติแท้แท้ของส้มโชกุนพื้นเมืองล่ะก็ ท่านต้องมายังที่เบตงเพียงแห่งเดียวเท่านั้น



 แหล่งที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%87#.E0.B8.AA.E0.B8.96.E0.B8.B2.E0.B8.99.E0.B8.97.E0.B8.B5.E0.B9.88.E0.B8.97.E0.B9.88.E0.B8.AD.E0.B8.87.E0.B9.80.E0.B8.97.E0.B8.B5.E0.B9.88.E0.B8.A2.E0.B8.A7

เหตุการณ์ความไม่สงบภาคใต้



             เมื่อพูดถึงภาคใต้ก็ต้องพูดถึงเรื่องนี้แน่นอน แต่อยากจะบอกว่าแรกๆก็มีเหตุความไม่สงบซึ่งมีการวางระเบิดตามสาขาธนาคารทุกที่ของเบตง ทำให้ชาวเบตงเดือดร้อนกันไปตามๆกัน แล้วก็เหตุการ์ณถล่มรถตู้9ศพ จากที่ได้ยินมา ว่ากันว่าโจรใต้เอาต้นไม้ดักถนนให้รถตู้จอดจากนั้นก็นำคนมาล้อมยิงรถตู้บางคนหนีเอาชีวติรอด แต่ดันจับได้โจรเอามีดใหญ่ฟันเข้าที่หน้าตายทันทีและที่เหลือถูกยิงที่หัวตาย มีผู้รอดชีวิต1คน ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ชาวเบตงไม่กล้าที่จะออกจากเมืองเลยแล้วก็เป็นช่วงที่เงียบมากๆ ช่วง1ทุ่มก็ไม่ค่อยมีรถผ่านกันเลย แต่ ณ ปัจจุบัน เหตุการ์รเหล่านี้ก็ไม่ค่อยได้เกิดขึ้นแล้ว สรุปก็ไม่เจอเหตุการ์ณร้ายแล้วหลังจากข่าวถล่มรถตู้ ทุกวนนี้เบตงก็สงบดี แต่ในสามจังหวัด ก็ยังมีเหตุการ์ณไม่ดีเกิดขึ้นอยู่

รับชมเกตุการ์ณวินาทีโจรใต้ถล่มรถตู้  ในรายการ วีไอพั 
กรีดหัวใจ “ครูใต้” คนร้ายจ่อยิง “ลูกสาว” ดับต่อหน้า


ความคิดเห็นของผู้เขียน


           เป็นยังไงบ้างครับสำหรับอำเภอเมืองเบตงซึ่งเป็นเมืองนหนาวที่อบอุ่นมาก ยิ่งช่วงตอนเข้าอากาศจะดีมากมีหมอกทุกวันตอนเช้า และยังมีอาหารอร่อยๆอย่างติ่มซำซึ่งมีให้กินทุกวันตอนเช้าเป็นเมืองที่มีวิถีชีวิตเรียบง่ายสบายๆ เหมาะแก่การพักผ่อนที่สุดพอตกดึกก็มีร้านน้ำชาให้มานั่งคุยกันได้อีก และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวดีๆให้ได้พักผ่อนกันอีกด้วย ขอฝากอำเภอเบตง จังหวัดละยาด้วยนะครับ ^^